วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557

โรคและแมลงที่พบในมะเขือเทศ

      


         เมือเราปลูกมะเขือเทศเราก็ควรดูเเลหมั่นใส่ปุ๋ยและที่สำคัญเราควรสังเกตุต้นมะเขือเทศด้วยว่าเป็นโรคหรือมีเเมลงอะไรมารบกวนต้นมะเขือเทศหรือไม่เเละถ้าพบก็ควรรีบรักษาเเละป้องกันก่อนที่จะสายเกินเเก้หรือทางที่ดีก็ควรป้องกันไว้ก่อนแต่ก็ไม่ควรใช้สารเคมีหรือยาฆ่าแมลงเพราะเมื่อใช้ชีดพ้นเเล้วจะมีสารพิษตกข้างในมะเขือเทศและจะเป็นอันตรายต่อผู้ใช้สารเคมีเเละผู้บริโภดด้วย
           โรคที่พบในมะเขือเทศ

1. โรคใบจุดวง
       
      สาเหตุของโรค     เกิดจากเชื้อรา Alternaria solani
      ลักษณะอาการ
     สังเกตได้จากใบแก่เริ่มจากเป็นจุดเล็ก ๆ สีน้ำตาล แผลค่อนข้างกลมแล้วขยายใหญ่ ออกไป การขยายตัวของจุดจะปรากฏรอยการเจริญของแผลเป็นวงสีน้ำตาลซ้อน ๆ กันออกไป ถ้าเกิดบนกิ่ง ลักษณะแผลรียาวไปตามลำต้น สีน้ำตาลปนดำเป็นวงซ้อน ๆ กัน ผลแก่ที่เป็นโรคแสดงอาการที่ขั้วผลเป็นแผลสีน้ำตาลดำ และมีลักษณะวงแหวนเหมือนบนใบ
     การแพร่ระบาด
     เชื้อสาเหตุโรคนี้สามารถติดมากับเมล็ดพันธุ์ได้ โรคนี้จะเกิดมากในสภาพที่ความชื้นและ อุณหภูมิสูง ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะต่อการระบาดของโรคมาก ๆ จะทำให้อาการจุดวงขยายตัวอย่างรวดเร็วจนต่อเนื่องกันเกิดเป็นอาการใบแห้ง
     การป้องกันกำจัด
1. คลุกเมล็ดด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชที่สามารถกำจัดเชื้อสาเหตุที่ติดมากับ เมล็ดพันธุ์ได้ เช่น แมนโคเซบ ไอโพรไดโอน
2. ถ้าระบาดในแปลงปลูก พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชบางชนิด เช่น ไอโพรไดโอน คลอโรทาโลนิล

2. โรคใบจุด

      สาเหตุของโรค    เกิดจากเชื้อรา Corynespora  cassiicola
     ลักษณะอาการ
      อาการของโรคนี้ใกล้เคียงกับโรคใบจุดวงมาก แต่แผลบนใบมักมีขนาดเล็ก การขยาย ตัวของโรคใบจุดเกิดเป็นวงไม่ค่อยชัดเจน และแผลมักมีสีเหลืองล้อมรอบ อาการบนผลเป็นจุดเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วไป แผลสีครีม หรือน้ำตาลอ่อน
     การแพร่ระบาด
     โรคนี้พบระบาดมากในภาคเหนือ โดยเฉพาะถ้ามีความชื้นสูง หรือมีฝนตก โรคจะ ระบาดอย่างรวดเร็ว ใบที่เป็นโรคมาก ๆ จะร่วงหลุดไป
     การป้องกันกำจัด
        1. พยายามรักษาความชื้นในแปลงปลูกอย่าให้สูงมากเกินไป
        2. เมื่อพบโรค พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น เบนโนมิล   คาร์เบนดาซิม


3. โรคแห้งดำ

     สาเหตุเกิดจาก       เกิดจากเชื้อรา Stemphylium sp.
    ลักษณะอาการ
    เริ่มต้นจากจุดเหลี่ยมเล็กๆสีดำบนใบมะเขือเทศเมื่ออาการรุนแรงแผลขยายขนาด ใหญ่และมีจำนวนจุดมากขึ้นเนื้อใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแห้งกรอบ และดำในที่สุดแต่ส่วนของลำต้นยังเขียวอยู่  ไม่พบอาการบนลำต้นและผล
    การแพร่ระบาด
     เชื้อสาเหตุโรคนี้สามารถติดมากับเมล็ดพันธุ์ได้ ส่วนการระบาดในแปลงจะเกิดได้ รุนแรงและรวดเร็วเมื่อมีความชื้นและอุณหภูมิสูง
    การป้องกันกำจัด
1. คลุกเมล็ดด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชที่สามารถกำจัดเชื้อสาเหตุที่ติดมากับ เมล็ดพันธุ์ได้ เช่น แมนโคเซบ ไอโพรไดโอน
2. ถ้าระบาดในแปลงปลูก พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชบางชนิด เช่น ไอโพรไดโอน คลอโรทาโลนิล

4. โรคใบไหม้

       สาเหตุของโรค    เกิดจากเชื้อรา Phytophthora infestans
     ลักษณะอาการ
     จะพบปรากฏอยู่บนใบส่วนล่าง ๆ ของต้นก่อน โดยเกิดเป็นจุดฉ่ำน้ำสีเขียวเข้มเหมือน ใบถูกน้ำร้อนลวก รอยช้ำนี้จะขยายขนาดออกไปอย่างรวดเร็วทางด้านใต้ใบ โดยเฉพาะขอบ ๆ แผล จะสังเกตเห็นเส้นใยสีขาวอยู่รอบ ๆ รอยช้ำนั้น เมื่อเชื้อเจริญมากขึ้นใบจะแห้ง อาการที่กิ่งและลำต้นเป็นแผลสีดำ อาการบนผลมีรอยช้ำเหมือนถูกน้ำร้อนลวก
     การแพร่ระบาด
     โรคนี้พบระบาดมากทางภาคเหนือของประเทศไทยในฤดูหนาว เพราะสภาพแวดล้อม เหมาะต่อการเกิดโรค โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ย 18-28 องศาเซลเซียส และมีความชื้นสัมพัทธ์สูงกว่า 90 % ในเขตที่อุณหภูมิต่ำและความชื้นต่ำโรคจะไม่ระบาดนอกจากมีฝนโปรยลงมาโรคจะ ระบาดอย่างรุนแรงและรวดเร็วภายหลังจากที่มีฝน ส่วนของพืชที่ถูกเชื้อเข้าทำลายจะตายภายใน 1 สัปดาห์
     การป้องกันกำจัด
        1. ถ้าปลูกมะเขือเทศแบบยกค้าง ควรตัดแต่งใบล่างให้โปร่ง
        2. เมื่อเริ่มพบโรค ควรใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น คลอโรทาโลนิล เมตาแลกซิล + แมนโคเซบ พ่นให้ทั่วทั้ง

5. โรครากำมะหยี่

      สาเหตของโรค    เกิดจากเชื้อรา Cladosporium  fulvum
     ลักษณะอาการ
     ผิวด้านบนของใบแก่เป็นจุดสีขาว ซึ่งขยายออกอย่างรวดเร็วและเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ใต้ใบบริเวณที่เห็นเป็นสีเหลืองมีขุยสีกำมะหยี่ เมื่อโรคระบาดรุนแรงมากขึ้นใบจะแห้ง
     การแพร่ระบาด
      โรคนี้จะพบมากในมะเขือเทศที่ปลูกในฤดูฝน หรือมีฝนตกระหว่างฤดูปลูกปกติ เชื้อรา จะสร้างสปอร์จำนวนมากทางด้านใต้ใบ สปอร์นี้สามารถทนต่อสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสม และมีชีวิตอยู่ได้นานหลายเดือน เชื้อราเข้าทำลายใบแก่ที่อยู่ทางตอนล่าง ๆ ของต้น และอยู่ทางด้านใต้ใบ
     การป้องกันกำจัด
1. ตัดแต่งกิ่งมะเขือเทศเพื่อให้การหมุนเวียนของอากาศในแปลงดีขึ้น
2. เมื่อเริ่มพบโรค ควรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชบางชนิด เช่น แมนโคเซบ เบนโนมิล คาร์เบนดาซิม

6. โรคราเขม่า

      สาเหตุของโรค    เกิดจาก เชื้อรา Cercospora fuligena.
     ลักษณะอาการ
     คล้ายกับอาการของโรครากำมะหยี่มาก โดยอาการมักเริ่มที่ใบแก่ตอนล่างของ ลำต้นก่อน แล้วจึงลามขึ้นไปยังใบที่อยู่ตอนบน ใบที่เป็นโรค แสดงอาการจุดสีเหลืองแล้วขยายใหญ่ออก ด้านใต้ใบตรงจุดสีเหลืองมีเชื้อราขึ้นอยู่ เส้นใยของเชื้อราที่เกิดขึ้นเป็นขุยสีเทาเข้มจนถึงดำ ซึ่งเป็นอาการที่แตกต่างจากโรครากำมะหยี่ อาการบนกิ่งเป็นขุยสีเทาดำ ใบที่เป็นโรคจะแห้งตาย
     การแพร่ระบาด
     เป็นโรคที่พบทั่วไป แต่มักจะพบระบาดและทำความเสียหายในภาคตะวันออก เฉียงเหนือมากกว่าแหล่งอื่น
     การป้องกันกำจัด
1. ตัดแต่งใบล่าง ๆ ของมะเขือเทศออกบ้าง เพื่อให้มีการระบายอากาศดีขึ้น
2. เมื่อเริ่มพบโรคในแปลง พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชบางชนิด เช่น แมนโคเซบ เบนโนมิล คาร์เบนดาซิม


7. โรคราแป้ง

      สาเหตุของโรค    เกิดจากเชื้อรา Oidiopsis sp.
     ลักษณะอาการ
     อาการที่มองเห็นด้านบนใบจะปรากฏเป็นจุดสีเหลือง จุดเหลืองนี้จะขยายออกและจำนวนจุดบนใบจะมีมากขึ้น เมื่อโรคระบาดรุนแรงขึ้น จนบางครั้งมองเห็นเป็นปื้นสีเหลืองด้านบนใบ ตรงกลางปื้นเหลืองนี้อาจจะมีสีน้ำตาล ต่อมาใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทางด้านใต้ใบ ตรงบริเวณที่แสดงอาการปื้นเหลือง จะมีผงละเอียดคล้ายผงแป้งเกาะอยู่บาง ๆ มองเห็นได้ไม่ชัดเจนนัก เมื่ออาการรุนแรงมากขึ้นใบจะเหลือง จากส่วนล่างของต้นไปยังส่วนบนและใบที่เหลืองนี้จะร่วงหลุดไป ในสภาพอากาศเย็นบางครั้งจะพบผงสีขาวเกิดขึ้นบนใบได้ และลุกลามไปเกิดที่กิ่งได้
     การแพร่ระบาด
     โรคนี้มักพบในระยะเก็บผลผลิต ทำให้ต้นโทรมเร็วกว่าปกติ
     การป้องกันกำจัด
1. ลดความชื้นบริเวณโคนต้นหรือในทรงพุ่ม โดยการตัดแต่งกิ่ง
2. กำจัดวัชพืชที่เป็นพืชอาศัยของเชื้อสาเหตุ เช่น น้ำนมราชสีห์ และหญ้ายาง
3. เมื่อพบโรค ควรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชบางชนิด เช่น กำมะถันผง ไดโนแคป
8.โรคใบด่างเรียวเล็ก

      สาเหตุของโรค    เกิดจากเชื้อไวรัส
     ลักษณะอาการ
     ต้นมะเขือเทศแคระแกรน ใบมะเขือเทศม้วนงอ ถ้าอาการรุนแรงมากขึ้น ใบมะเขือเทศจะ เรียวเล็กกว่าปกติ
     การแพร่ระบาด
     โรคนี้สามารถถ่ายทอดโดยเพลี้ยอ่อน และวิธีการสัมผัสต้นมะเขือเทศที่แสดงอาการใบเรียวเล็กนี้ตั้งแต่ระยะเล็ก ๆ จะไม่ติดผล หรือถ้าติดผลจะเล็ก
     การป้องกันกำจัด
1. พ่นด้วยสารฆ่าแมลงที่สามารถกำจัดเพลี้ยอ่อนได้

9. โรคใบหงิกเหลือง

      สาเหตุของโรค     เกิดจากเชื้อไวรัส
    ลักษณะอาการ
     ใบยอดหงิกเหลือง ม้วนงอ ใบมีขนาดเล็กลง ยอดเป็นพุ่ม และต้นแคระแกรน
    การแพร่ระบาด
     โรคนี้สามารถถ่ายทอดได้โดยวิธีทาบกิ่ง และมีแมลงหวี่ขาวเป็นพาหะ วิธีทาบกิ่งสามารถ ถ่ายทอดโรคได้ 22% แมลงหวี่ขาวสามารถถ่ายทอดโรคได้ 88% จะต้องป้องกันมะเขือเทศมิให้เป็นโรคก่อนอายุ 60 วัน เพราะการเป็นโรคนี้ในระยะต้นโตและเริ่มติดผลแล้ว ไม่กระทบกระเทือนต่อผลผลิตมากนัก
    การป้องกันกำจัด
1. รักษาความสะอาดแปลงปลูก ควรเก็บเศษซากพืชที่ตกค้างอยู่ในพื้นที่ปลูก ออกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะฟางข้าว
2. ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยคอกและปูนขาว
3. ถ้าปรากฏต้นมะเขือเทศที่เป็นโรคนี้ ควรรีบถอนทำลายด้วยการเผา
4. แปลงที่มีโรคนี้ระบาดควรงดปลูกมะเขือเทศไม่น้อยกว่า 4 ปี
5. สารป้องกันกำจัดโรคพืช พีซีเอ็นบี เอทริไดอาโซล พีซีเอ็นบี + เอทริไดอาโซล สามารถลดอัตราการเป็นโรคลงได้ แต่ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง




  แมลงที่พบในมะเขือเทศ
เพลี้ยไฟ ( Thrips , Haplothrips floricola Priesner)
เพลี้ยไฟเป็นแมลงที่เข้าทำลายพืชตระกูลมะเขือ หลายชนิด เช่น พริก มะเขือเทศ มะเขือ และ
ใช้ปากเขี่ยเซลให้เป็นแผลเพื่อดูดน้ำเลี้ยง การทำลายของเพลี้ยไฟต่อส่วนการเจริญเติบโต 
จะทำให้ยอดอ่อนแคระแกร็น เติบโตช้า พืชอ่อนแอ และทำให้ใบ ลำต้น แห้งตายได้ 
 เพลี้ยไฟจะมีการแพร่กระจายโดยลม ทำให้การระบาดเป็นไปอย่างกว้างขวาง และรวดเร็ว
      การป้องกันกำจัด

 ให้ น้ำอย่างสม่ำเสมอ ควบคู่ไปกับการใช้สารเคมี โดยการใช้ ชอสแมค 30 ซีซี + สารน้ำมัน 
 ดีซีตรอน พลัส 50 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร หรืออาจใช้สารเคมี อื่นๆ ควบคู่กันไปเช่น ทามารอน
แอมมิรอนนูวาครอน อะโซดริน แลนเนท เมซูโรล
      แมลงหวี่ขาว
แมลงหวี่ขาวเข้าทำลายพืชตระกูลพริกค่อนข้างกว้างขวาง มีหลายชนิด เช่น Greenhouse whitefly
( Trialeurodes vaporariorum) Silverleaf whitefly ( Bemesia argentifolii ) โดยทั่วไปแมลง
หวี่ขาวจะอยู่บริเวณใต้ใบอ่อน แมลงชนิดนี้จะเป็นพาหะของโรค ไวรัส ในพืชตระกูลพริกหลายชนิด
      การป้องกันกำจัด
• ใช้สารเคมีในการกำจัดเช่น เมธามิโดฟอส อัตรา 20 – 30 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร • สารเคมีชนิดอื่นๆ เช่น
 ไบเฟนทริน  เพอร์มีทรีน เอนโดซัลแฟน (ไทโอดาน) ออกซามิล (ไวเดทแอล)อิมิดาโครพริด
หมายเหตุ :
การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลง ให้พิจารณาจากปัจจัยต่างๆที่ก่อให้เกิดปัญหา เช่น
 ความหนาแน่นของแมลง 
 สภาพอากาศ อุณหภูมิ และผลเสียที่ได้รับจากโรคและแมลง สารเคมีควรใช้ในอัตรา 
 กลาง –ต่ำและควรฉีดพ่นในช่วงที่มีอากาศเย็นและงดการใช้สารเคมีทุกชนิดก่อนเก็บเกี่ยวอย่าง

อ้างอิงจาก http://www.chiataigroup.com/Default.aspx?PageContentID=61&tabid=219


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น